วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เทคนิคการพิมพ์ภาพเบื้องต้น



กรณีศึกษาเทคนิคการสร้างงานศิลปะภาพพิมพ์ครั้งเดียวโดยใช้แผ่นพลาสติกรองพื้น  

เทคนิคภาพพิมพ์ครั้งเดียว (Monoprint) โดยใช้แผ่นพลาสติกที่มีความหนารองพื้น เพื่อจัดวางเศษวัสดุต่างๆ ที่นำมาพิมพ์ภาพ รวมทั้งสร้างลักษณะพื้นผิวสีเพื่อใช้เป็นสีพื้นหลังภาพ และนำไปพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ภาพชนิดมือหมุน
การใช้แผ่นพลาสติกรองพื้นเพื่อสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ครั้งเดียว สามารถพัฒนาเทคนิค และวิธีการสร้างงานได้อย่างหลากหลาย ระนาบวัสดุที่ใช้พิมพ์ภาพ มีทั้งกระดาษและผ้าใบ วัสดุที่นำมาพิมพ์เป็นภาพ ได้แก่ วัสดุธรรมชาติวัสดุผลิตภัณฑ์สิ่งของ ภาพลวดลายต้นแบบตัดฉลุหนังเทียม ภาพต้นแบบตัดฉลุกระดาษการ์ดแข็งลวดลายศิลปะไทย และรูปแบบอิทธิพลศิลปะขอมการพิมพ์ภาพส่วนมากจะใช้วิธีการที่หลากหลาย และใช้วัสดุหลายชนิดพิมพ์ในภาพเดียวกัน วัสดุชิ้นที่ผ่านการพิมพ์ไปแล้วนั้น สามารถนำมาพิมพ์ซ้ำได้อีกเพราะมีสีเหลือติดอยู่ การนำวัสดุมากลิ้งสีใหม่ หรือการกลับด้านวัสดุที่ใช้เป็นแม่พิมพ์รวมถึงการจัดวางวัสดุเพิ่มเติมบางส่วน หรือการสับเปลี่ยนการจัดวางการย้ายตำแหน่งวัสดุในภาพให้แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย สามารถสร้างสรรค์ผลงานภาพที่ต่อเนื่องกันออกมาเป็นภาพชุดได้
ผลงานที่มีรูปแบบเด่นชัดสามารถนำไปเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ทั้งด้านการศึกษาศิลปะโดยตรง หรือจะผลิตเป็นสินค้าสิ่งของที่ระลึก ได้แก่ ลวดลายรูปแบบศิลปะไทย และลวดลายรูปแบบอิทธิพลศิลปะเขมร ซึ่งปรากฏอยู่ตามปราสาทเขมร ณ สถานที่ต่างๆ ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย เพราะเป็นภาพที่สามารถสื่อสารรับรู้กันได้ง่ายทั่วไป



อ้างอิง
https://www.google.com/search?tbm=isch&sxsrf=ACYBGNQ86jOhSDeE8L81__b6HoCKPq8Vzg:1571902665555&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C&chips=q:%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E+%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C,online_chips:%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8+%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4&usg=AI4_-kQvT7aCFVTGsSNRxPwyZB45E7DLIw&sa=X&ved=0ahUKEwiDxYHgsbTlAhVEp48KHYT6DMoQ4lYIMygH&biw=1920&bih=920&dpr=1#imgrc=HO1gexobkhH1nM:
https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77241

การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาพพิมพ์



ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาพพิมพ์
           ภาพพิมพ์ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า Graphic arts มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า "Graph" แปลว่า เขียน เเละ "Arts"แปลว่า การทำให้เกิดความงามหรือรูปทรง เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงมีความหมายว่า ศิลปะเเห่งการเขียน โดยจะต้องรวมถึงรูปแบบต่างๆ ของการเเสดงออกในทางศิลปะที่มองเห็นได้ ได้เเก่ จิตรกรรม งานวาดเส้น งานภาพพิมพ์ การถ่ายรูปและงานพิมพ์หนังสือ
      ลักษณะทางกายภาพของภาพพิมพ์ในสมัยปัจจุบัน หมายถึง งานศิลป์ที่มีพื้นผิวเเบนราบ(Flat surface) แบบ ๒ มิติ คือ มีความกว้างเเละความยาว ปราศจากความหนาหรือความลึก วิธีการพิมพ์มีทั้งการใช้สีเเบบสีเดียว (Monochrome) และเเบบหลายสี (Polychrome) ซึ่งใช้วิธีการ /"กดให้ติด"/ โดยการสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบด้วยการกดหรือประทับจากเเม่พิมพ์        
               ภาพพิมพ์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานจากแม่พิมพ์ชนิดแผ่นโลหะ แผ่นไม้ แท่นหิน ตะแกรงไหม แล้วผ่านกระบวนการพิมพ์ ซึ่งจะได้ผลงานที่เหมือนๆ กัน เป็นจำนวนมากในด้านวิจิตรศิลป์

ประเภทของการพิมพ์

ประเภทของการพิมพ์
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์
2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 
4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ

4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร

4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )

4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น


อ้างอิง
https://www.google.com/search?biw=1920&bih=969&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNQT-2TQILknVgZDnrwoQBV7uMbOqg%3A1571902086374&sa=1&ei=hlKxXdjJFt2mwgPB_6LYCA&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C&gs_l=img.3..0i19l10.121795.121795..122254...0.0..0.74.74.1......0....1..gws-wiz-img.FYYZvcmb654&ved=0ahUKEwjYpOvLr7TlAhVdk3AKHcG_CIsQ4dUDCAc&uact=5#imgdii=0hI2ZTw1JGv9KM:&imgrc=5mVgksH7df0z8M:
https://sites.google.com/site/karsrangsrrkhphlnganthasnsilp/2-khwam-ru-phun-than-keiyw-kab-phaph-phimph
https://sites.google.com/site/karsrangsrrkhphlnganthasnsilp/4-thekhnikh-kar-phimph-phaph-beuxng-tn
https://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=608&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRSbSiSSKV8q0dBpAtyhpeh8Z2-pw%3A1573567716124&sa=1&ei=5LzKXfX2BtbD3LUP6t-TgAQ&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A&gs_l=img.12..0i19l3.34305.34305..35156...0.0..0.95.95.1......0....2j1..gws-wiz-img.wHDshLVUT7o&ved=0ahUKEwj1-P7F7OTlAhXWIbcAHervBEAQ4dUDCAc#imgrc=4cYEvGGIz-pKGM:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C&sxsrf=ACYBGNTYKFHkLDtMZ83ujvz51lJBb0ssHQ:1573567539537&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiJgOXx6-TlAhUhjOYKHRWUAfUQ_AUIEigB&biw=1366&bih=608#imgrc=_7VZ4BFBDV27SM:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C&sxsrf=ACYBGNTYKFHkLDtMZ83ujvz51lJBb0ssHQ:1573567539537&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiJgOXx6-TlAhUhjOYKHRWUAfUQ_AUIEigB&biw=1366&bih=608#imgrc=SvHI_xsobqH2hM:

bacc_Museum Minds"การศึกษาในพิพิธภัณฑ์ศิลปะและหอศิลป์"



พาน้องท่องหอศิลป วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)  ด้วยการพาน้องสัมผัสผลงานศิลปะของจริง
ท่ามกลางสถิติและข้อมูลที่พรั่งพรูออกมา ตั้งแต่กรณีหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ถูกเพ่งเล็งและตัดงบสนับสนุนโดยผู้ว่า กทม. ประจวบพอดีกับวาระครบรอบ 10 ปีประหนึ่งตลกร้าย เราในฐานะประชาชนคนจ่ายภาษีจึงพลอยได้ทำความรู้จักเบื้องหน้าเบื้องหลังองค์กรนี้มากขึ้น
และที่สำคัญ ได้ฉุกเห็นประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ หอศิลปกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับงานการศึกษาเป็นวาระที่ 2 รองจากการจัดแสดงศิลปะ (มีการแบ่งสัดส่วนงานของ พ.ศ. 2561 ดังนี้ งานนิทรรศการ 63% การศึกษา 15% กิจกรรมเครือข่าย 12% ดนตรีภาพยนตร์ 7% ห้องสมุดศิลปะ 3%) ชวนให้ตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมงานการศึกษาถึงถือเป็นพันธกิจสำคัญของที่นี่? เจ้าหน้าที่การศึกษาต้องทำอะไร อย่างไร ในหอศิลป์?
ว่าแล้วเราจึงจับเข่าคุยแบบเจาะลึกกับ คุณวรฉัตร วาทะพุกกณะ เจ้าหน้าที่การศึกษาของหอศิลปกรุงเทพฯ เพื่อไขทุกข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ที่ไม่ได้จบแค่แขวนภาพบนผนัง
คุณวรฉัตรเลือกที่จะยก โครงการพาน้องท่องหอศิลป์เป็นเคสตัวอย่างเพื่อให้เราเข้าใจกลไกลของงานส่วนนี้มากขึ้น เริ่มมาจากพันธสัญญาของหอศิลป์กรุงเทพฯ ที่จะต้องทำกิจกรรมสำหรับบุคลากรของ กทม. ทุกปี จำนวน 2,000 คน
ทางทีมการศึกษาจึงมีการจัดอบรมครูภาควิชาศิลปะจากโรงเรียนในสังกัดของ กทม. โดยในช่วงแรกจะเน้นเรื่องเครื่องมือการสอน แต่พอเห็นว่าองค์ความรู้หลักของหอศิลป์นั้นอยู่ในตัวนิทรรศการ ดังนั้น จึงขยายขอบเขตงานมาสู่ โครงการพาน้องท่องหอศิลป์ที่พาเด็กๆ และคุณครูมาทำความคุ้นเคยกับหอศิลป์ มาทำความรู้จักกับงานศิลปะ ของจริงในพื้นที่ ไม่ใช่แค่รูปสองมิติในหนังสือเรียน และมาเรียนรู้ผ่านนิทรรศการ ด้วยกิจกรรมที่ออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเขาโดยเฉพาะ
สิ่งที่ทีมต้องทำเป็นอันดับแรกคือ การลงพื้นที่ สำรวจความต้องการ รวมถึงความคาดหวัง ของผู้เข้าร่วมโครงการ (ทางทีมงานเลือกร่วมงานกับกลุ่มคุณครูศิลปะระดับประถมศึกษาตอนปลาย)
ซึ่งคุณวรฉัตรยอมรับว่า เจอกับปัญหาในหลายระดับ ตั้งแต่บุคลากรครูที่ไม่ได้จบด้านนี้มาโดยตรง หรือไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะมาก่อน บ้างจับพลัดจับผลูมาสอนเพราะโรงเรียนขาดคน ไปจนถึงระบบการประเมินที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อีกทั้งทัศนคติที่มักมองว่าศิลปะเป็นสิ่งไกลตัว ทำให้ทางทีมงานต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อให้โครงการนี้ไม่เป็นภาระเพิ่มเติม และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
โจทย์ในปีแรกคือ นิทรรศการประเทือง เอมเจริญ ร้อยริ้วสรรพสีสัน ตำนานชีวิตและสังคมซึ่งจัดแสดงผลงานภาพวาดสีน้ำมันของอาจารย์ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตกรรม) พ.ศ. 2548
ทางทีมงานเลือกที่จะสอดแทรกความเป็นเกมควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงการศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อประสบการณ์การเรียนรู้ที่หอศิลป์ตอบโจทย์สิ่งที่คุณครูต้องสอนในโรงเรียนอยู่แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการเรียนจากในห้องเรียนมาที่หอศิลป์
เขาก็จะเขียนคำใบ้ว่า ในภาพนี้เขาเห็นอะไรบ้าง มีโทนสีอะไร อะไรอยู่ตรงไหน แต่ห้ามเขียนชื่อภาพ แล้วก็มาสลับกัน ไปหาภาพที่เพื่อนเลือกเอาไว้ การตอบรับค่อนข้างดีมาก เพราะเด็กค่อนข้างสนุก เขาสามารถเอนจอยกับการดูงาน แม้งาน อ.ประเทือง เป็นงาน Abstract ดูยาก แต่เด็กเขาสามารถเข้าใจได้ เพราะว่าเขาต้องอธิบายให้เพื่อนเขาฟังคุณวรฉัตรกล่าว
เนื่องจากกลุ่มของนักเรียนนั้นมักจะมีขนาดใหญ่ ดังนั้น ทีมการศึกษาจึงต้องมีกิจกรรมเสริมเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนออกมาจากพื้นที่นิทรรศการ โดยอีกกลุ่มนั้นจะได้อบรมเชิงปฏิบัติการ ลองสวมบทบาทเป็นอาจารย์ประเทือง เอมเจริญ และสร้างงานศิลปะด้วยอุปกรณ์สีอะคริลิกหรือสีน้ำ ซึ่งพวกเขามักจะไม่ค่อยได้ใช้ที่โรงเรียนเท่าไรนัก
คุณครูก็รู้สึกว่า เด็กไม่ได้วาดรูปเหมือนตอนอยู่โรงเรียน เราถือว่ามันค่อนข้างประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่เราต้องการ เด็กได้แสดงออก ได้สร้างผลงานของตัวเอง แต่มันก็มีหลายๆ ส่วนที่เราต้องปรับปรุงเยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยนี้
ในปีที่ 2 คุณวรฉัตรเล่าว่า โชคดีที่ นิทรรศการดิน น้ำ ป่า ฟ้า : แรงบันดาลใจจากพ่อ
เป็นเรื่องโครงการในพระราชดำริ ซึ่งเป็นหัวข้อที่เด็กๆ คุ้นเคยและต้องเรียนรู้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือการต้องทำความรู้จักกับรูปแบบของงานศิลปะที่หลากหลากกว่า 160 ผลงานในโชว์นี้
เขาจะรู้จักแค่วาดรูป งานปั้น (แม้แต่) งานพิมพ์เขาก็แทบจะไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ แต่พอเขาได้มาเห็นงาน Installation ที่โอ้โห อลังการ มีหลอดไฟ มีต้นไม้ มีอะไรประหลาดๆ อยู่ในพื้นที่นิทรรศการ เขาก็รู้สึกว่า อ๋อ งานศิลปะมันไม่ได้มีแค่ภาพวาดนี่นา
เรามองว่าศิลปะมันเป็นเครื่องมือ เพราะถ้าเราพยายามยัดเยียดความซาบซึ้งแค่เรื่องสุนทรียะอย่างเดียว เด็กบางคนเขาอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่พอเราเอาไปเชื่อมโยงกับเรื่องที่เขาคุ้นเคย อย่างเช่นโครงการหลวง เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องป่า เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการรีไซเคิล เขาก็เข้าใจมากขึ้น
เพื่อให้เห็นว่าศิลปะมันอยู่เดี่ยวๆ ไม่ได้ มันมีความเป็นพหุศาสตร์อยู่ในนั้น มันเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารในเรื่องต่างๆ ที่ศิลปินเขาได้แรงบันดาลใจมาคุณวรฉัตรอธิบายว่าหัวข้อนี้ทำให้เนื้อหากิจกรรมได้ทำงานร่วมกับวิชาอื่นๆ เช่นคณิตศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วย
ยกตัวอย่างเช่นกิจกรรมทำงานประดิษฐ์ เด็กๆ เขาได้ขยำกระดาษ แล้วก็สร้างเป็นเหมือนงานสามมิติเกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริ ตอนสรุปเราก็เอาชิ้นงานมาต่อๆ กัน เวลาคนหนึ่งทำคน อีกคนหนึ่งทำเรื่องน้ำ อีกคนหนึ่งทำกังหัน ของพวกนี้ถ้ามันอยู่รวมกันมันก็จะเป็นสังคม พอเป็นสังคม เขาก็ได้เรียนรู้ว่า อ๋อ เราอยู่คนเดียวไม่ได้ เรามีแค่น้ำไม่ได้นะ เราต้องมีป่านะ เราต้องมีฝน เราต้องมีบ้านนะ นอกจากมีน้ำ เราต้องมีคนที่คอยทำความสะอาดมันด้วย
ปีนี้ โครงการพาน้องท่องหอศิลป์จะถูกสานต่อเป็นปีที่ 3 ร่วมกับ นิทรรศการ Beyond the Air We Breathe: Addressing Climate Change’ แต่ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะเล่าเรื่องที่ใกล้ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม ทีมงานก็มีความท้าทายที่จะต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส หาแนวร่วมมาช่วยเพื่อทดแทนการตัดงบจาก กทม.
ปีก่อนหน้านี้เราทำด้วยตัวเองมาตลอด ปีนี้ค่ารถที่จะไปรับเด็กยังไม่มี เราต้องเริ่มออกไปทำงานกับองค์กรที่เขาเป็นคนที่ผลิตครู (สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยหัวเฉียว) เป็นองค์ความรู้ทางด้านทฤษฎีมาเสริมทัพ อีกทั้งมีการทำวิจัยประกอบด้วย ซึ่งก็หวังว่าวันหนึ่งมันจะได้ตีพิมพ์เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรในลักษณะหอศิลป์ในไทยหรือพิพิธภัณฑ์ เพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับเยาวชนในอนาคต
คุณวรฉัตรทิ้งท้ายกับเราว่า ทุกคนในทีมยังทำงานกันอย่างเต็มที่ภายใต้ความกดดัน
โปรแกรมนี้เป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งใน School Program ที่เราพยายามก่อสร้างร่างมันขึ้นมา เหมือนเวลาเราไปพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศที่คุณครูจากโรงเรียนมาทำงานร่วมกับพิพิธภัณฑ์ เพื่อที่จะช่วยกันออกแบบกิจกรรมให้เด็กๆ มาเรียนรู้ที่นี่ เหมือนใช้พื้นที่นี้เป็นเหมือนห้องเรียนห้องหนึ่ง
ห้องเรียนที่ใช้เครื่องมือศิลปะในการเรียนรู้ แต่ก็มันก็เรียนรู้ได้ทุกเรื่องเลย ทั้งเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก การตระหนักรู้ ถึงปัญหาโลกร้อน และตระหนักรู้เรื่องตัวเอง คือจริงๆ แล้วศิลปะมันไปได้ไกลมากเลย มันไม่ได้จบอยู่แค่ว่ามันสวยไหม
ผู้เขียนเองก็ได้แต่หวังว่า การแจกแจงกระบวนการและวิสัยทัศน์ด้านพันธกิจการศึกษาของหอศิลป์ในบทสนทนานี้ ควบคู่ไปกับภาพรอยยิ้มของเด็กๆ อาจจะช่วยตอบคำถามว่าด้วย ความคุ้มค่าและอธิบายกลไกลของการขับเคลื่อนสังคมด้วยศิลปะร่วมสมัยในใจหลายๆ คนได้ ไม่มากก็น้อย






อ้างอิง
https://www.youtube.com/results?search_query=bacc_Museum+Minds

https://readthecloud.co/museumminds-bacc-classroom/

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C&sxsrf=ACYBGNQ1We10r-oxm7Tiwc6WoD_s1JLdvA:1573565970692&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjXwtqF5uTlAhV76XMBHXDVBcEQ_AUIEigB&biw=1366&bih=608#imgdii=zwcIZvpnl9mr3M:&imgrc=LwdpKRT9AmZRtM:

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C&sxsrf=ACYBGNQ1We10r-oxm7Tiwc6WoD_s1JLdvA:1573565970692&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjXwtqF5uTlAhV76XMBHXDVBcEQ_AUIEigB&biw=1366&bih=608#imgrc=oVtXaS1Zh0RdLM:

เทคโนโลยีทางการศึกษา



เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
ความหมายของเทคโนโลยี
          กู๊ดGood.1963.492ให้ความหมายว่าเทคโนโลยีในพจนานุกรมทางการศึกษา(DictionaryofEducational)หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา
ใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
          เดล (Dale . 1969 .610 ) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงานอย่างมีระเบียบที่ให้บรรลุตามแผนการ
          ฮาลซี (Haisey.1974.935) ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีในพจนานุกรม โรงเรียน 3 ความหมาย ดังนี้
1. เป็นการนำความรู้ที่มีเหตุผลมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในทางปฏิบัติ
2. เป็นระเบียบ วิธีการ ขบวนการ ความคิดหรือการปรับปรุงวิธีการเดิม
3. เป็นการนำเอาวัสดุหรือวัตถุมาบริการความต้องการของสังคม
          เสาวนีย์ (2528 : 3 ) กล่าวว่า เทคโนโลยี เป็นคำไทยที่ถูกบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ คำ Technology ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามาจากรากศัพท์ภาษาใดกันแน่ เพราะมีใช้ทั้งในภาษาละตินและภาษากรีก ในภาษาละตินมีคำว่า “Texere” หมายถึงการสาน(toweave)หรือการสร้าง(toconstruct)ที่ไม่เกี่ยวเฉพาะเครื่องมือเท่านั้นแต่รวมถึงศิลปะปฏิบัติ(Practicalart)ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในภาษากรีกมีคำว่า “Technologia” หมายถึง การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic treatment) ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้น แต่เทคโนโลยียังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ  ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Any practical art using scientific Knowledge) เขาจึงสรุปและให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี คือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผล
          ชัยยงค์ (2535 : 18 – 28 ) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี คือ แนวคิดหลักปฏิบัติ กระบวนการ ระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีการและสิ่งประดิษฐ์อยู่ในรูปของการจัดระบบงานซึ่งต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่างคือ
1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหาแจกแจงวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหา หรือสรุปการวิเคราะห์ซึ่งสามารถจะนำไปทดลองประยุกต์ใช้และทำการประเมินผล
         
ความหมายเทคโนโลยีการศึกษา
          กู๊ด (Good, 1963 :592 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
        จรูญ(2515:31-35)กล่าวถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ว่าเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีคนส่วนมากมักนึกถึงสัมภาระต่างๆอันเป็นผลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในทางการศึกษามิได้หมายความเฉพาะแต่เพียงสัมภาระเพียงอย่างเดียววิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆที่เพิ่มศักยภาพเป็นตัวช่วยนำมาใช้ปรับปรุงให้วิธีการสอนหรือวิธีการจัดการศึกษามีผลดีหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาเหมือนกัน เทคโนโลยีทางการศึกษาที่แท้จริงจึงหมายถึงกรรมวิธีในการกำหนดจุดหมายปลายทางของการศึกษาการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมและทันสมัยการทดลองใช้วิธีการและวัสดุต่าง ๆ การประเมินผลของระบบการศึกษาทั้งระบบ
          ชัยยงค์(2523:24)กล่าวถึงเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่าเทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์(วัสดุ)และผลิตผลทางวิศวกรรม(อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้าน บริหาร ด้านวิชาการ และด้านบริการ หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาเป็นระบบ การนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
1.   วัสดุ (Materials) หมายถึง ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผัง สิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ฯลฯ
2.   อุปกรณ์ (Equipment) หมายถึง ผลิตผลทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กระดาษดำ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
3.   วิธีการ (Techniques) หมายถึง ระบบกระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
ดังนั้นเทคโนโลยีทางการศึกษาตามขอบข่ายดังกล่าวคือการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอันเนื่องมาจากการนำเอาโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์และวิธีการใหม่มาใช้ในทางการเรียนการสอนนั่นเอง

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีต่อการศึกษา
          เสาวนีย์ (2528 : 9 –10 ) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางคณะกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology ) ได้สรุปว่าเทคโนโลยีทางการศึกษามีความสำคัญต่อการศึกษา ดังนี้
        1. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนการสอนและการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น นั่นเอง การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้นเรียนได้เร็วขึ้นได้เห็นและได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนได้อย่างเข้าใจและยังทำให้ครูมีเวลาให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น
        2. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถที่จะสนองในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ในการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษานั้น ผู้เรียนจะมีอิสระในการเสาะแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและต่อสังคมมากขึ้นเป็นการเปิดทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของเขา สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างดี
        3.เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การจัดการศึกษาทั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีหนึ่งที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ การนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้กับการศึกษา จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าทดลองวิธีการแปลก ๆ ใหม่ ๆอยู่เสมอและมีความสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมจึงทำให้การจัดการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานของระบบสังคมเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
        4.เทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษาก็คือสื่อสื่อนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น สื่อเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสื่อมีพลังมากเพียงใดดังนั้นการนำสื่อมาใช้ในการศึกษาจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัดการศึกษานั้นจะมีพลังมากขึ้น        5.เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียนมิได้จำกัดเฉพาะในด้านความรู้เท่านั้นแต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติที่ดีงามแก่ผู้เรียนด้วยการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางผู้เรียนได้เห็นสภาพความเป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเอง เป็นการนำโลกภายนอกเข้ามาสู่ห้องเรียน ทำให้ช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่น การศึกษาผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เป็นต้น        6.เทคโนโลยีทางการศึกษาทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้นเช่นการจัดการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่มีพิธีรีตรอง(InformalEducation)การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-formalEducation)ทำให้วิถีทางการเข้าสู่การศึกษาเป็นไปอย่างการจัดการศึกษาพิเศษแก่คนพิการและอื่นๆอิสระเสรีและกว้างขวางเพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล ตามความสนใจ ความต้องการ และความสามารถของเขา



 iPad

iPad ที่ล้ำหน้าที่สุด เท่าที่เคยมีมา
iPad ที่เป็นที่นิยม ที่สุดของเรา
เป็นหน้าจอทั้งหมด และยังสามารถไปหมด เป็นหน้าจอทั้งหมดและยังสามารถไปหมด ได้รับการออกแบบมาใหม่หมด และอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดของเรา จนคุณต้องเปลี่ยนความคิดไปเลยว่า iPad นั้นทำอะไรได้มากขนาดไหน
ดีไซน์แบบหน้าจอทั้งหมดได้เปลี่ยน iPad Pro ให้กลายเป็นแผ่นกระจกที่น่ามหัศจรรย์ ที่สามารถทำทุกอย่างที่คุณต้องการได้ ไม่ว่าจะถือในแนวไหน ด้วยคำสั่งนิ้วที่ใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ การไปยังส่วนต่างๆ ก็ง่ายนิดเดียว
            จอภาพ Liquid Retina ที่เต็มตาจากขอบจรดขอบ สีสันที่สวยงามสมจริง และเทคโนโลยี ProMotion ล้วนทำให้ทุกอย่างดูสวยสะดุดตาและรู้สึกได้ถึงการตอบสนองที่ดีเยี่ยม
            Face ID มาอยู่บน iPad เรียบร้อยแล้ว และยังได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมมาให้สามารถปลดล็อคได้อย่างปลอดภัยและทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าคุณจะถือในแนวตั้งหรือแนวนอน
            ชิพ A12X Bionic คือชิพที่ทั้งฉลาดและทรงพลังเหลือเชื่อ โดยมาพร้อม Neural Engine ที่สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ถึง 5 ล้านล้านรายการ
ต่อวินาที รวมถึงใช้งานการเรียนรู้ขั้นสูงของระบบ
            ชิพ A12X Bionic ให้ประสิทธิภาพกราฟิกที่เร็วขึ้นถึง 2 เท่า2 ซึ่งทำให้ iPad Pro เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบสำหรับเทคโนโลยีความจริงเสริม รวมถึงเป็นวิธีเยี่ยมๆ สำหรับเล่นเกมที่เต็มอิ่มสมจริง แล้วโลกจริงก็สนุกอย่าบอกใคร
ขอแนะนำ Apple Pencil

ตอนนี้ Apple Pencil นั้นตอบสนองต่อการสัมผัสของคุณที่ผ่านมา Apple Pencil ได้สร้างมาตรฐานให้กับวิธีการวาด การจดโน้ต และการทำเครื่องหมายบนเอกสารว่าควรจะให้ความรู้สึกแบบไหน นั่นก็คือ ใช้งานง่าย แม่นยำ และมหัศจรรย์ และครั้งนี้Apple Pencil รุ่นที่ 2 ก็ได้ยกระดับประสบการณ์นั้นขึ้นไปอีกขั้น โดยตอนนี้คุณสามารถจับคู่และชาร์จแบบไร้สาย
แถมยังเปลี่ยนเครื่องมือ เช่น จากดินสอเป็นยางลบได้ง่ายๆ
ด้วยการแตะสองครั้ง เอาล่ะ ทีนี้ก็เริ่มวาดลวดลายกันเลย

ออกแบบมาให้ทำอะไรๆ ได้มากขึ้นในแบบที่ง่ายขึ้น
Apple Pencil รุ่นที่ 2 จะยึดติดกับด้านข้างของ iPad Proด้วยแม่เหล็ก ซึ่งให้ความรู้สึกที่ดีเยี่ยม และเมื่อยึดติดกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มจับคู่กับอุปกรณ์และชาร์จโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณพร้อมใช้งานเสมอ นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีใหม่ๆ ในการโต้ตอบกับ Apple Pencil ด้วยง่ายๆ แค่แตะสองครั้งก็เปลี่ยนเครื่องมือได้ โดยไม่ขัดจังหวะการทำงานของคุณเลย
ดีไซน์แบบไร้รอยต่อที่เรียบง่าย Apple Pencil รุ่นที่ 2นั้นออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้อย่างสบายมือและเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น และส่วนดีไซน์แบบไร้รอยต่อที่ไม่มีหัวต่อหรือชิ้นส่วนไหนขยับไปมาก็ทำให้การจัดเก็บง่ายยิ่งขึ้นแถมคุณยังสามารถสลักข้อความบน Apple Pencilเพื่อทำให้เป็นของคุณโดยเฉพาะได้อีกด้วย
จับคู่ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ชาร์จได้แบบไร้สายApple Pencil รุ่นที่ 2 จะเริ่มชาร์จเมื่อคุณแนบด้านที่เรียบแบนของ Apple Pencilเข้ากับด้านขวาของ iPad Pro ขณะเดียวกันก็จะจับคู่กับอุปกรณ์ของคุณโดยอัตโนมัติและคุณยังสามารถชาร์จ iPad Pro และ Apple Pencil ไปพร้อมกันได้อีกด้วย
เหมือนเล่นกลใช่มั้ย จริงๆ แล้วคือ แม่เหล็ก ซึ่งเราว่านั่นก็มหัศจรรย์อยู่ดี
แตะเพื่อปลดล็อคความสามารถใหม่ๆ Apple Pencil รุ่นที่ 2 ให้คุณเปลี่ยนโหมดได้ด้วยการแตะสองครั้งตรงบริเวณที่นิ้วของคุณวางอยู่ ซึ่งคุณสามารถกำหนดการแตะได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้สลับไปมาระหว่างเครื่องมือที่คุณใช้บ่อยๆ ได้ง่ายๆ
แล้วเทคโนโลยีและศิลปะก็กลายเป็น เรื่องเดียวกัน
Apple Pencil เป็นอะไรที่ลงตัวที่สุดในเวลาที่คุณเกิดปิ๊งแรงบันดาลใจใหม่ๆ ไม่ว่าจะใช้จดโน้ต ระบายสีน้ำหรือออกแบบอาคารขณะอยู่ที่ไซต์งาน แล้วก็ยังมีแอพอีกหลายประเภทใน App Store ที่ช่วยให้คุณทำอะไรๆด้วย Apple Pencil ได้มากขึ้นไปอีก ไม่ว่าคุณอยากจะทำอะไร Apple Pencil ก็ช่วยให้คุณทำได้อย่างง่ายดายและเพลิดเพลินจนแทบวางไม่ลงเลยทีเดียว
เครื่องมือที่สมบูรณ์แบบสำหรับศิลปินทุกแขนง Apple Pencil เหมือนเป็นผู้ช่วยในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ไม่ว่าคุณจะวาดภาพ                     สีน้ำ ออกแบบตกแต่งภายใน หรือรีทัชเลเยอร์ต่างๆในรูปภาพ Apple Pencil ก็พร้อมทำให้จินตนาการของคุณกลายเป็นจริงได้
เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเพื่อความลื่นไหลขั้นสุด
Apple Pencil อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งกับความหน่วงในระดับที่คุณแทบจะไม่รู้สึกและความแม่นยำระดับพิกเซลนี้บอกเลยว่าให้ความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนเครื่องมือการเขียนและวาดที่คุณใช้อยู่เป็นประจำ
ตอบสนองฉับไว แม่นยำโดยสมบูรณ์ Apple Pencil คือเครื่องมือที่เป็นคำตอบที่ดีที่สุดในเวลาที่คุณต้องการความแม่นยำลึกไปถึงระดับพิกเซล โดยทุกอย่างที่คุณเขียนจะละเอียดลึกไปจนถึงพิกเซลแต่ละพิกเซล เรียกว่าตั้งแต่ภาพประกอบเชิงเทคนิคไปจนถึงภาพบุคคลในรายละเอียดปลีกย่อยอย่างเส้นผมและอื่นๆ คุณสามารถกดหนักๆ เพื่อวาดเส้นให้หนาขึ้น กดให้เบาลงเพื่อวาดเส้นบางๆ หรือแรเงาได้ง่ายๆ ด้วยการเอียงApple Pencil ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังเห็นทุกอย่างที่คุณเขียนแทบจะในทันที
ใช้งานง่ายแบบสบายๆ แตะที่จอภาพ iPad Pro ด้วย Apple Pencilเพื่อปลุกอุปกรณ์และเปิดแอพโน้ต ซึ่งคุณสามารถวางมือลงบนจอได้เลยโดยเครื่องจะรับรู้ได้เองว่านี่ไม่ใช่การเขียนหรือทำเครื่องหมาย
คุณจึงใช้งานได้เหมือนกับกระดาษจริงๆ


























อ้างอิง
https://www.google.com/search?biw=1920&bih=920&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNTuygfifX4_cyB2EvwgaJkg5evlCA%3A1571899823841&sa=1&ei=r0mxXY-EM5-WvQStyY6ADA&q=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2&oq=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&gs_l=img.1.5.0i19l10.54601.61356..63681...3.0..0.108.525.6j1......0....1..gws-wiz-img.......0i30i19j0i8i30i19.Wv66apDELls#imgdii=O6ruDNXpddN0nM:&imgrc=kar5ioWhwmcu5M:

https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=9738&Key=news_research

https://www.apple.com/th/ipad-pro/
https://www.apple.com/th/apple-pencil/